ยุคอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (3300 ปีก่อน ค.ศ. – 1700 ปีก่อน ค.ศ.) ของ สถาปัตยกรรมอินเดีย

โมเหนโจ-ดาโร หนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ[2]

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุครอบคุลมพื้นที่ขนาดใหญ่ล้อมรอบแม่น้ำสินธุและบริเวณโดยรอบ ในยุคที่อารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมาก (2600–1900 BCE) ได้กำเนิดเมืองจำนวนหนึ่งที่มีความเป็นแบบแผนเดียวกัน ได้แก่ ฮารัปปา, โลธัล และ โมเหนโจ-ดาโร หนึ่งในแหล่งมรดกโลก การวางผังเมืองและการวิศวกรรมของเมืองเหล่านี้น่าสนใจมาก ในขณะที่การออกแบบอาคารต่าง ๆ นั้นยังเป็นแบบ "ยึดประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ" (utilitarian) กล่าวคือไม่ค่อยมีการประดิดประดอยหรือตกแต่งให้สวยงามวิจิตร จากหลักฐานพบยุ้งฉาง, ระบบชลประทานและท่อน้ำ, ที่เก็บน้ำ แต่ยังไม่สามารถระบุว่าพบสิ่งก่อสร้างที่เป็นปราสาทหรือศาสนสถานได้ บางเมืองพบการสร้างป้อมปราการ "citadel"[3] นอกจากนี้ยังพบบ่อน้ำอันนำมาสู่การสร้างบ่อน้ำขั้นบันได (stepwell)[4] ในแค่ส่วนหนึ่งของเมืองอาจพบได้มากถึง 700 บ่อ นักวิชาการบางคนจึงเชื่อว่าอารยธรรมฯ นี้เป็นผู้คิดค้นการขุดบ่อน้ำอิฐทรงกระบอก (cylindrical brick lined wells)[4]

การตกแต่งเชิงสถาปัตยกรรมนั้นพบได้น้อยมาก ถึงแม้จะพบ "รูเล็ก ๆ " ในผนังบางตึกก็ตาม งานศิลปะส่วนมากที่พบทำมาจากดินเผา (terracotta) และมีขนาดเล็กจิ๋ว เช่น พวกตราหรือโล่ต่าง ๆ ส่วนรูปปั้นขนาดใหญ่โตนั้นแทบไม่พบเลย ส่วนมากแล้วการก่อสร้างด้วยอิฐนั้นทำมาจากอิฐแบบเผาไฟ ซึ่งต่างกับอีกอารยธรรมใกล้เคียงกันคือเมโสโปเตเมีย ที่ใช้อิฐชนิดผึ่งแดด น้อยมากที่จะสร้างด้วยหิน เช่นใน ธลวีระ (Dholavira) บ้านเรือนส่วนใหญ่มีสองชั้น มีขนาดและแปลนที่เหมือน ๆ กันเมืองใหญ่ ๆ นั้นลดลงอย่างรวดเร็วตามลำดับโดยไม่รู้สาเหตุ เหลือไว้แต่เพียงซากหมู่บ้านและวัฒนธรรมที่ซับซ้อนน้อยกว่าให้ชม[5]

ใกล้เคียง

สถาปัตยกรรมบารอก สถาปัตยกรรมอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก สถาปัตยกรรมมหาวิหารสมัยกลางในอังกฤษ สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอังกฤษ สถาปัตยกรรมอินเดีย สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมมาซิโดเนียเหนือ สถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี